Kantapat under Clean room suit.
Monday, August 3, 2009
Automation Roll to Roll gold plating line
Gold Plating line : Roll to Roll automation
This line have transfer from USA to setup in Thailand, Very big line my Friend ( US Guy ) take care to installation with us. I like as see High Technology coming in to Thailand.
Thank you for comment
Lim Farewell Party 31 July 2009
Lim's Farewell Party .......
She worked with us long time and my just working with her since I move to take care Test Engineering ....not long ... So not short ..will near one year ready.
She was nice GUY ..... Nice Guy .... look like Boy more than Girl. Are you agree with me. What she are ...don't impotance for me reason her very nice ..take care and respond own duty.
Last day ... small party ... letten drinking ....5555
Thank you for comment
Saturday, July 11, 2009
ระบบการทำงานในโรงงานที่มีวัฒนธรรมแบบ (ตะวันตก)
ระบบการทำงานในโรงงานที่มีวัฒนธรรมแบบ (ตะวันตก)
จากประสบการณ์จริง ของผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรม โรงงาน ที่มีเจ้าของเป็น อเมริกา กว่า 16 ปี
ถ้าเรามามองการเรียนรู้ในโรงเรียนและการเข้าเริ่มทำงานต้องยอมรับว่าความรู้ ที่นักศึกษาได้รับ ไม่ใช่ปัญหาที่คณะครูอาจารณ์ เป็นห่วงเป็นใย แต่มองเห็นชัดเจนดีว่ามาตรฐาน ในการปรับตัวในการเริ่มทำงาน หรือ โอกาสที่จะเข้าทำงานในสถานประกอบการเป็นอีกเรื่องสำคัญที่นักศักษาต้องออกไปค้นหาและสร้างความสามารถด้วยตนเอง แต่อย่างไรก็ตาม เราก็จะเห็นว่า มีหลายหน่วยงานหรือแม้แต่รุ่นพี่ ในแต่ละสถาบันที่อยู่ในหลากหลายสถานประกอบการก็คอยช่วยผลักดัน เปิดโอกาสการเริ่มต้น ต้องขอบคุณคณะอาจารณ์ มหาวิทยาลัยเนเรศวร และ สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดทำโครงการสร้างประสบการณ์ ให้นักศึกษาได้มีโอกาสได้สัมผัสกับสถานประกอบการ ต่างๆ เพื่อการเรียนรู้และ เตรียมความพร้อมให้ตนเอง ในลักษณะความรู้นอกห้องเรียน ไม่มากก็น้อยที่ต้องนำไปใช้ เพื่อให้ได้เข้าไปทำงานหรือวางแผนให้กับตนเองหลังจากจบการศึกษาไปแล้ว
สถานประกอบการณ์ ไม่ว่าเป็นของใครคงไม่ต่างกัน สำหรับพนักงาน หรือเรียกง่ายๆ ว่า “ ลูกจ้าง “ ในฐานะหรืออยากให้เห็นในมุมมองของ พนักงานนั้น ต้องเข้าบทบาทหน้าที่ของตนให้เข้าใจก่อน แล้วตามด้วยอื่นๆ ต่อไป สิ่งสำคัญนั้นก็คือ เราเป็นทรัพยกร ที่สถานประกอบการต้องการอย่างหนึ่งที่ต้องใช้ในกระบวนการ ไม่ต่างจากวัสถุดิบอย่างอื่นเลย ฉะนั้น ต้องมีการคั้ดกรองคุณภาพ เป็นเรื่องปกติ เพียงแต่ว่า เรา นั้นเป็นทรัพยกรที่สำคัญและได้คุณภาพที่เขาต้องการหรือไม่ ในรูปแบบ ตะวันตก หรือ แบบอเมริกัน คือ จะทำอย่างไรจะใช้ทรัพยกรเหล่านั้นให้คุ้มค่ามากที่สุด เหมาะสมที่สุด ทำให้เกิดที่มาของค่าตอบแทนที่มาก เมื่อเทียบกับแบบอื่นๆ ร่วมถึงการพัฒนา บุคคลกรอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นจุดเด่นอย่างหนึ่งที่เดียว แต่ต้องยอมรับด้วยว่างานหรือหน้าที่รับผิดชอบสูง แต่ก็ไม่เกินเลยความสามารถเราที่จะทำได้ สิ่งสำคัญอย่างที่ช่วยทำให้เรางานได้ง่ายในทุกรูปแบบคือการทำงานอย่างตั้งใน ขยัน ทำงานหนัก เท่าที่เราจะทำได้ ด้วยใช้หลักการบริหารงาน วางแผนการทำงานร่วงหน้าเสมอ ไม่ว่าจะเป็น ชั่วโมง เป็นวัน เป็นปี หรือหลายๆปี ฉะนั้น เราจะเห็นในหลายๆสถานประกอบการมีการวางแผนงาน 5 ปี หรือ 10 ปี ซึ่งเรียกว่า “ MASTER PLAN “ ให้เห็นเป็นปกติ อย่างเช่นใน โรงงานมีแผนการผลิตเป็น ไตรมาส ( 3 เดือน ) แล้ว แบ่งออกเป็นรายสัปดาห์ และลงรายละเอียดเป็นชั่วโมง ก็ไม่ต่างจากเราที่ต้องวางแผนการทำงานของตนเองในทุกๆชั่วโมง ในตลอดสัปดาห์ คนอเมริกัน ไม่ได้รอเวลา หรือให้เหตุเกิดแล้วจึงทำงานแต่ ก็ 60% ถึง 80% ของความสำเร็จเกิดจากการวางแผนงานร่วงหน้าทั้งนั้น หลัการทำงานอย่างง่ายๆ คือ วางแผน – ลงมือทำ – พัฒนา – อบรม – ติดตามผล ไม่ว่าจะอยู่จุดใดในองค์กร ก็สามารถใช้หลักการง่ายๆนี้ ในการทำงาน และ ต้องจำไว้เสมอว่า คนอเมริกัน มองว่า เวลา คือของสำคัญที่ สุด เป็นเงินเป็นทอง ซึ่งแนวคิดที่ดีมากๆ
โครงสร้างการบริหารงาน ถือเป็นหัวใจของการดำเนินงานภายในโรงงานหรือสถานประกอบการนั้น รวมถึง สถานประกอบการที่มี โครงสร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบตะวันตก ด้วยแล้วยิ่งมุ่งเน้นการทำงานแบบเป็นระบบ มีการแบ่งแผนกการทำงานที่ชัดเจน มีความเป็นเอกเทศในการทำงานแต่ก็คงไว้ซึ่งความคร่องเกี่ยวในแต่ละแผนก หรือ ฝ่ายได้ดีขึ้นกับความคร่องตัวหรือรูปแบบสินค้า และบริการของสภานประกอบการนั้นด้วย
การกำหนดนโยบาย ( Company Policy ) คือการ สร้างข้อตกลงในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น เจ้าของ (ผู้ประกอบการ) ลูกค้าที่ได้รับมอบสินค้า และบริการ รวมถึง พนักงานผู้ปฏิบัติงานทุกคน ที่มีส่วนร่วมทั้งหมด ทราบถึง นโยบายของบริษัท ถึงการมีคุณภาพอย่างสมบูรฌ์ ทั้งกระบวนการผลิตสินค้า และสินค้าที่มอบให้ลูกค้า โดยสื่อให้เห็นความปรารถนาและความคาดหมายของลูกค้า ทราบเข้าใจและปฏิบัติตามระบบคุณภาพของบริษัท มีการจัดการ การประเมินผล และวินิจฉัยผลงาน เพื่อนำไปปรับปรุงผลผลิต ขบวนการผลิต และระบบบริหารงานคุณภาพ จนถึงการมุ่งเน้นการพัฒนาบุคคลกรให้เข้าใจการทำงานของผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต นำเทคโนโลยี่ใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต
มาตราฐาน และการยอมรับ ( Quality System & Certification ) เป็นสิ่งที่ยากที่ละเว้น ที่จะไม่ปฏิบัติ เนื่องจากการแข่งขันทางการค้าและ ความมุ่งเน้นด้านคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญ นั้นเอง แต่ถว่า เราเข้าใจในวัตถุประสงค์ ของการมี มาตราฐานคุณภาพแล้ว ท่านผู้อ่านจะเข้าว่า มีความสำคัญอย่างยิ่ง ไม่เพียงแค่ด้านการค้า เพราะ วัตถุประสงค์ ของการปฎิบัติ เพื่อได้การรับรองมาตราฐาน ของหยิบยกเอา มาตราฐาน ISO อ้างอิง ให้เข้าใจอย่างสั้นๆ คือ ความปรารถนาให้ทุกถาคส่วน ในโรงงานผลิตนั้น สามารถผลิตสินค้า ออกมาอย่างมีคุณภาพ ดังเดิม ตลอดทุกชิ้นที่ ส่งถึงมือลูกค้า นั้นหมายความว่าแล้วเราจะทำอย่างไร ให้เราควบคุมความแปรปรวนที่เกิดขึ้น ในกระบวนการผลิตของเรานั้นเอง โดยเริ่มจากการ ทำงานอย่างเป็นระบบ ซึ่ง ISO ก็มีการชี้แนะการบริหารจัดการ แล้วมีการส่งตัวแทนที่เชื่อถือได้เป็นผู้ตรวจสอบการบริหารจัดการนั้นๆ นั้นเอง นัดถึงวันนี้ ISO ก็ ออกมาตราฐาน ไม่เพียงแต่การควบคุบการผลิต ยังส่งถึงด้านอื่นๆ เช่น มาตราฐานสิ่งแวดล้อม มาตราความปลอดภัยและชีวอนามัย เป็นต้น
มาตราฐานคุณภาพการออกแบบและผลิต (ISO 9001)
มาตราฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ISO 14001)
มาตราฐานคุณภาพความปลอดภัยและชีวอนามัย (ISO 18001)
ในเวลาอันใกล้นี้ ก็จะมีมาตราออกมาให้ใช้ และ บังคับใช้ เช่น ว่าด้วยการคืนหรือให้กับ ผู้คนในชุมชนที่ โรงงานตั้งอยู่ หรือ มาตราฐานที่ว่าด้วยการประหยัดพลังงาน ในโรงงาน ให้ได้ ปฏิบัติ
ระบบควบคุมคุณภาพ และมาตราฐานเป็นที่ยอมรับ
เครื่องมือในเชิงวิศวกรรม (Engineering Tool ) เมื่อทราบเป็นอย่างดีแล้วว่า หัวใจดวงใหญ่ ที่ส่งผลกระทบในกระบวนการผลิตนั้น คือ ความแปรปรวน ( Variation ) ไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบต่างในแต่กระบวนการ ไหนจะเป็นกระบวนการที่ มีหลายในแต่ละขั้นตอนการผลิต รวมถึงเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตที่ทีหลายเครื่องแม้แต่ขบวนการเดียว จนถึงพนังงานที่ควบคุมเครื่องจักรนั้นๆ ที่อาจมีทักษะในการปฎิษัติ ยิ่งมีขั้นตอนที่ ให้พนักงาน ลงมือปฏิษัติ มากเพียงใด ความแปรปรวนก็จะมากเป็นทวีคูณ ดังนั้น เราจึ่งขาดไม่ได้ ที่ จะต้องมีมาตราฐานคุณภาพ เข้ามาบริหารจัดการ ไม่ว่าจะเป็น การจัดเอกสาร การระบุที่ชัดเจนตั้งแต่การจัดซื้อ จัดจ้าง ตลอด การออกแบบผลิตภัณฑ์ การควบคุมการผลิต การบันทึกที่ชัดเจนของผลิตภัณฑ์ กับทุกกระบวนการผลิต แต่เราก็ พบว่า เกิดความแปรปรวนในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ จึงมีการนำ เครื่องมือในเชิงวิศวกรรม (Engineering Tool) เข้ามาจัดการกับ ความแปรปรวนนั้น เพื่อ ให้เกิดผลกำไรสูงสุด และ สามารถส่งสินค้าให้ลูกค้าได้ตามเวลาที่กำหนด เพราะการแปรปรวนก่อให้ เกิดของเสีย นั้นคือความสูญเสีย ซึ่ง เครึ่องมือที่ นิยมใช้ มีหลากหลายมากมายให้เลือกใช้ให้เหมะกับ ความต้องการในแต่ละกระบวนการ จะได้ยกตัวอย่างไว้ในรูป ถัดไป เช่น Six Sigma , QCC , TQM เป็นต้น
กลยุทธ์ด้านการตลาด ของ บริษัท INNOVEX Co., (ตัวอย่าง สภานประกอบการ แบบ ตะวันตก)
ประเภทธุรกิจ
· เป็นอุตสาหกรรมผลิตแผงวงจรไฟฟ้าชนิดอ่อน (Flexible Circuit) ให้กับลูกค้าซึ่งเป็นกลุ่มของผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า-อิเล็คทรอนิคส์
· ลักษณะการดำเนินธุรกิจจัดอยู่ในรูปแบบของ B2B (Business to Business)
· โดยบริษัทฯ มีสถานะเป็น Supplier ผลิตสินค้าส่งให้กับคู่ค้า
· อินโนเว็กซ์ทำรายได้กว่า 150 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี
o คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาด 4.7% ของตลาดการค้าทั่วโลก
o คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาด 9.4% ของตลาดอื่นเมื่อไม่รวมกิจการของประเทศญี่ปุ่น
ประเภทสินค้า แบ่งได้ 3 ประเภท
· Data Storage เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้งานในกลุ่มสินค้าประเภท อุปกรณ์เก็บข้อมูล เช่น Hard Disk
· New Venture เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้งานในกลุ่มสินค้าประเภท โทรศัพท์มือถือ,Plasma TV, Notebook Computer
· Flex Suspension Assembly (FSA) เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้งานในกลุ่มสินค้าประเภทหัวอ่าน Hard Disk, หัวอ่าน CD Drive ซึ่งมีขนาดเล็ก
กลุ่มลูกค้า
ลูกค้าของบริษัทจะเป็น กลุ่มของผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า-อิเล็คทรอนิคส์ โดยมี Seagate เป็นลูกค้ารายใหญ่ ซึ่งมีสัดส่วนยอดประมาณ 60 % นอกจากนั้นประกอบไปด้วย
· IBM
· Maxtor
· PHILIPS
· SAMSUNG
· XEROX
· Iomega
· HP
· DELL
· HITACHI
· QUANTUM
· STORAGETEK
คู่แข่งขัน แบ่งเป็น 2 กลุ่มดังนี้
· จากอเมริกา ประกอบด้วย
o 3M
o M-Flex
o World Circuits
· จากญี่ปุ่น ประกอบด้วย
o Mextex
o Nitto-Denko
o Fujikura
o Sumitomo
วิเคราะห์องค์ประกอบทางการตลาด
รูปแบบการดำเนินการด้านการตลาดของ INNOVEX เป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า “ขายก่อนทำ” ซึ่งหมายถึงเป็นการร่วมมือระหว่าง INNOVEX และ ลูกค้าในการร่วมกันคิดค้นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าของลูกค้าได้ ก่อนที่ทาง INNOVEX จะเริ่มการผลิต จากรูปแบบการดำเนินการดังกล่าวสามารถวิเคราะห์ในหลักการขององค์ประกอบทางการตลาดได้ดังนี้
1. Product ในกรณีนี้จะกล่าวถึงนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีในการผลิตสินค้าของ INNOVEX ซึ่งหมายถึง บริษัท INNOVEX จะต้องมีเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยที่สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ออกมาให้รองรับต่อการเปลี่ยนแปลงในตัวเทคโนโลยีของสินค้า ของลูกค้าได้
2. Price ในกรณีนี้ INNOVEX ไม่ใช่ผู้นำในอุตสาหกรรมการผลิตสินค้า Flexible Circuit จึงไม่สามารถแข่งขันในด้านราคาได้ ซึ่งเมื่อพิจารณาลงไปถึงตัวลูกค้า เช่น Seagate ซึ่งเป็นบริษัทผลิต Hard Disk ขนาดใหญ่ มียอดขายจำนวนมาก ถึงแม้ต้นทุนจะสูงขึ้น แต่ Seagate ยังคงมีกำไร ในขณะที่ใช้สินค้ามีคุณภาพ เท่ากับเป็นการเพิ่มคุณภาพให้กับสินค้าของ Seagate ไปสู่ผู้บริโภค
3. Place กรณีที่ INNOVEX ย้ายโรงงานการผลิตมายังประเทศไทย จะส่งผล 2 ทางดังนี้
a. Labor Cost เนื่องแรงงานในประเทศไทย เป็นแรงงานที่มีคุณภาพและค่าจ้างแรงงานไม่สูง ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง
b. Logistic เป็นการลดระยะทางระหว่างลูกค้าให้สั้นลง ทำให้จัดส่งสินค้าได้เร็วตรงตามกำหนด ประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนต่ำลง
4. Promotion เนื่องจากเป็นการดำเนินธุรกิจในรูปแบบของ Business to Business ประเด็นสำคัญจึงเป็นเรื่องของ PRM (Partner Relationship Management) ในการที่ INNOVEX จะต้องให้ความสำคัญต่อคู่ค้า ในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ตรงตามข้อกำหนด จัดส่งตรงเวลา เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับคู่ค้า เพื่อให้เกิดการซื้อซ้ำต่อ ๆ ไป
สรุป ในเรื่องการจัดการการตลาด สิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญของบริษัท INNOVEX คือ
1. เรื่องนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีในการผลิตสินค้า บริษัท INNOVEX จะต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยเพื่อให้สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ออกมาให้รองรับต่อการเปลี่ยนแปลงในตัวเทคโนโลยีของสินค้า ของลูกค้า อยู่ตลอดเวลา เนื่องจาก Product Life Cycle ของสินค้าเทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว โดยเฉลี่ยมีอายุประมาณ 6 เดือน
2. PRM (Partner Relationship Management) บริษัท INNOVEX จะต้องพัฒนาเรื่องความสัมพันธ์ที่มีต่อคู่ค้าทุกราย เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับคู่ค้า อันนำมาซึ่งการที่ลูกค้าจะอยู่กับบริษัทฯ ต่อไป
3. บริษัท INNOVEX จะต้องขยายฐานลูกค้าให้มากกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อลดระดับความสำคัญของลูกค้ารายใหญ่เช่น Seagate ลงมา (ปัจจุบันยอดขายของบริษัทประมาณ 60 % มาจาก Seagate) เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงในกรณีที่ ลูกค้ารายใหญ่เกิดการเปลี่ยนแปลง ไปหาคู่แข่ง
รูปแบบการทำงาน & วัฒนธรรมในการทำงาน (Working style & culture)
จะต้องให้ความสำคัญต่อผลสำเร็จของงาน 5 ประการ ดังนี้
1. การผลิต (Production)
2. คุณภาพ (Quality)
3. ต้นทุน (Cost)
4. ความปลอดภัย (Safety)
5. ขวัญและกำลังใจ (Morale)
William G. Ouchi ผู้กำเนิดทฤษฎี Z
สังคมอเมริกานั้น มาจากหลายเชื้อชาติ ประกอบกับการมีค่านิยมที่รักเสรีไม่ผูกพันตนเองกับองค์การ มีการย้ายงานได้บ่อย โดยเฉลี่ยแล้วคนอเมริกันจะทำงานอย่างน้อย 3 แห่งในชีวิต การทำงานเพียงแห่งเดียวเป็นเรื่องแปลกสำหรับในสังคมอเมริกัน ความผูกพันระหว่างบุคคลกับองค์การมีน้อยกว่าญี่ปุ่น คนอเมริกันทุกระดับพร้อมที่จะย้ายงาน เมื่อมีตำแหน่งงานใหม่ที่ดีกว่าเดิม ส่วนองค์การก็ปลดคนออกง่าย ๆ โดยถือประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ลักษณะของคนอเมริกันคือ เมื่ออยู่ที่ไหนก็จะทำงานอย่างเต็มที่ เพราะถือว่าประวัติการทำงานจะติดตัวไปตลอดชีวิต นอกจากนั้นคนอเมริกันยังมีจริยธรรมในการทำงาน ไม่ดูถูกงาน
การบริหารสไตล์อเมริกัน (Type A)
v การจ้างงานช่วงเวลาสั้น คือเขามักจะไม่จ้างคนทำงานนาน เพราะทำให้ค่าจ้างแพง แต่จ้างเป็นระยะเวลาช่างสั้น ๆ แทน
v การประเมินและเลื่อนขั้นเร็ว ถึงแม้จะจ้างงานช่วงระยะเวลาสั้น ๆ แต่สไตล์อเมริกัน เขาจะประเมินผลงาน และเลื่อนขั้นไว เรียกว่า ใครทำงานเก่ง แม้ไม่ต้องอาวุโส แต่อาจเลื่อนขั้นเป็นผู้บริหารระดับสูงได้อย่างรวดเร็ว
v ให้ความสำคัญมากกับอาชีพ ให้ความชำนาญเฉพาะทาง หมายถึง ใครทำอาชีพไหนก็ตาม ต้องมีความรู้ ความชำนาญ ระดับ “มืออาชีพ” จึงจะอยู่รอด ได้รับการจ้าง และได้ผลตอบแทนจากการทำงานที่คุ้มค่า
v เอกบุคคลเป็นผู้ตัดสินใจ การตัดสินใจขึ้นอยู่กับผู้บริหารสูงสุด หรือเป็นการตัดสินใจโดยคน ๆ เดียว
v ความรับผิดชอบเป็นภาระของเอกบุคคล เมื่อการตัดสินใจขึ้นอยู่กับ “เอกบุคคล” ดังนั้น หากมีอะไรผิดพลาดบกพร่อง คนที่รับผิดชอบคือคนที่ตัดสินใจ
v ใช้กลไกควบคุมที่เห็นกันชัด ๆ กล่าวคือ การควบคุมต่าง ๆ จะมีระบบการควบคุมที่เปิดเผย ทุกคนเห็นโดยทั่วไปว่าจะเป็นการความคุมโดยคน หรือเครื่องจักรก็ตาม
v แบ่งความเกี่ยวข้องกับคนทำงานเป็นส่วน ๆ ไป คือให้ความสำคัญแยกเป็นส่วน ๆ ย่อย ๆ แต่ละแผนก แต่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ลักษณะที่สำคัญของทฤษฎี Z
v ระยะเวลาจ้างงานระยะยาว เป็นไปตลอดชีพ (Lifetime Employment)
ไม่มีข้อผูกมัดหรือเงื่อนไขทางสังคม ที่ทำให้คนงานจะย้ายงานไม่ได้หรือลำบากใจ ย้ายงานอย่างในญี่ปุ่น
v การประเมินและเลื่อนตำแหน่ง (Slow Evaluation and Promotion)
การเลื่อนขั้นเป็นไปอย่างเร็วปานกลาง แต่จะไม่ช้าขนาด 10 ถึง 15 ปี ระยะเวลาเลื่อนขั้นต่าง ๆ จะสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม แต่การมีเวลาทิ้งช่วงช่วยให้พนักงานได้เห็นผลประโยชน์ และการประเมินผลงานของแผนงานระยะกลางและระยะยาว
v ลักษณะงานอาชีพ (Non specialized Career Paths)
แนวทางอาชีพกึ่งเฉพาะด้าน เพราะไม่ถึงกับต้องหมุนเวียนไปทำงานทุก ๆ อย่างในบริษัท หรือกระทั่งไปทำบริษัทอื่นในเครือหรือสาขาอื่น แต่เปิดโอกาสให้พนักงานของตนได้มีประสบการณ์ในสายงานหนึ่ง ตั้งแต่การออกแบบ การผลิต และกระทั่งการวางตลาด ประสบการณ์เหล่านี้ช่วยให้เกิดความพอใจที่จะอยู่ในบริษัทนั้นมากยิ่งขึ้น
v การบริหารมีระบบการควบคุมที่ไม่มีรูปแบบ (Implicit Control Mechanisms)
เป็นการควบคุมการบริหารแบบอเมริกัน ใช้ระบบ MBO กลไกการควบคุมงานอยู่ในจุดสมดุล ระหว่างแบบทางตรงและแบบทางอ้อม โดยสร้างให้เกิดบรรยากาศของความไว้วางใจ (trusts) ขึ้นในองค์การ
v การตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม (Consensual Decision Making)
มีทั้งแบบรวมอำนาจและกระจายอำนาจ โดยมีการรับฟังข้อคิดเห็นจากทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้องก่อน และคนที่รับผิดชอบจะเป็นคนตัดสินใจเองในที่สุด
v การทำงานและมนุษย์สัมพันธ์ในองค์การ
มีอิสระเป็นตัวของตัวเอง มีเสรีภาพเท่าเทียมกันยึดหลัก ซื่อสัตย์ต่อกัน (Trust) ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (subtlety) ความใกล้ชิดและเป็นกันเอง (intimacy) ไม่เน้นถึงการปฏิบัติต่อกันในระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชากับผู้บังคับบัญชา โดยเพิ่มความเอาใจใส่ต่อบุคคลใต้บังคับบัญชามากยิ่งขึ้น และเน้นการประสานงานกันในระหว่างคนในระดับเดียวกัน ให้ทุก ๆ คนปฏิบัติต่อกันในฐานะ คนกับคน มิใช่ในฐานะ เจ้านายกับลูกน้อง
ข้อดี / ข้อเสีย (Strong point / Distinctive point)
ข้อดี ในการทำงานกับโรงงานแบบตะวันตก
• ค่าตอบแทน สูง เมื่อเทียบกับ โรงงานในกลุ่มอื่นๆ
• เวลาทำงานและหน้าที่รับผิดชอบที่ชัดเจน
• ข้อกำหนดและกฏระเบียบในการทำงานที่ชัดเจน
• มีความอิสระทางความคิดและการตัดสินใจ
• การประเมินผลที่ชัดเจนเป็นระบบ
• ได้ใช้ภาษาต่างประเทศ ทำให้เพิ่มทักษะ ทางด้านภาษา
• มีโอกาศ ได้เปิดโลกทัศน์ ในหลายๆด้าน ถ้าได้มีโอกาสไปดูงานต่างประเทศ
• ส่งเสริมการอบรมในการทำงานในทุกๆด้าน เป็นความรู้ความสามารถติดตัวไปตลอด
• มีทุนหรืองบประมาณที่มากในการส่งเสริมการพัฒนาและ การวิจัย ในด้านเทคโนโลยี่เพื่อประยุคต์ ในกระบวนการผลิต ทำให้บุคคลเพิ่ม ความรู้และประสบการณ์
ข้อเสีย ในการทำงานกับโรงงานแบบตะวันตก
• การประเมินผลงาน เป็นตามผลงาน ฉะนั้น อาจไม่เหมาะกับคนที่ ทำงานเลื่อยๆ
• วัฒนธรรมบ้างอย่าง ต้องปรับระหว่างกัน
• ความรับผิดชอบในการทำงานสูง ต้องรอบครอบในการทำงาน
• มีความอิสระทางความคิดและการตัดสินใจ แต่เป็นดาบสองคม ต้องเรียนรู้ ในงานและใช้ประสบการณ์ ในการพิจารณา ในงานต่างๆด้วย (อาจตัดสินใจผิดพลาด แต่อย่าเสียกำลังใจ และเรียนรู้ต่อไป ) เพราะ บ้างคนอาจกลัวจนไม่กล้าตัดสินใจ อาจทำให้ งานไม่เดิน ฉะนั้น การตัดสินใจใดๆ ต้องอ้างอิงจากข้อมูลเป็นหลัก
• การประเมินผลที่ชัดเจนเป็นระบบ แต่อย่างไรก็ อิงกลุ่ม เพื่อทำให้เกิดการแข่งขัน พัฒนาความสามารถส่วนบุคคล ยังผลสู่บริษัท
• ได้ใช้ภาษาต่างประเทศ แต่ ก็เป็นอุปสรรค ในการสื่อสารที่ชัดเจนเช่นกัน
• ส่งเสริมการอบรมในการทำงานในทุกๆด้าน สร้างบุคคลกรที่มีคุณภาพ แต่ก็ เกิดสมองไหลได้ง่าย ทำให้ต้องหาบุคคลกรทดแทน อยู่ตลอด ทำให้ขาดบุคคลกรที่มีความรู้เชิงลึกเฉพาะด้าน หรือ มีน้อย
เอกสารอ้างอิง
· ผู้กำเนิดทฤษฎี Z William G. Ouchi
· ข้อมูลภายใน บริษัท อินโนเวกส์
Thank you for comment
จากประสบการณ์จริง ของผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรม โรงงาน ที่มีเจ้าของเป็น อเมริกา กว่า 16 ปี
ถ้าเรามามองการเรียนรู้ในโรงเรียนและการเข้าเริ่มทำงานต้องยอมรับว่าความรู้ ที่นักศึกษาได้รับ ไม่ใช่ปัญหาที่คณะครูอาจารณ์ เป็นห่วงเป็นใย แต่มองเห็นชัดเจนดีว่ามาตรฐาน ในการปรับตัวในการเริ่มทำงาน หรือ โอกาสที่จะเข้าทำงานในสถานประกอบการเป็นอีกเรื่องสำคัญที่นักศักษาต้องออกไปค้นหาและสร้างความสามารถด้วยตนเอง แต่อย่างไรก็ตาม เราก็จะเห็นว่า มีหลายหน่วยงานหรือแม้แต่รุ่นพี่ ในแต่ละสถาบันที่อยู่ในหลากหลายสถานประกอบการก็คอยช่วยผลักดัน เปิดโอกาสการเริ่มต้น ต้องขอบคุณคณะอาจารณ์ มหาวิทยาลัยเนเรศวร และ สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดทำโครงการสร้างประสบการณ์ ให้นักศึกษาได้มีโอกาสได้สัมผัสกับสถานประกอบการ ต่างๆ เพื่อการเรียนรู้และ เตรียมความพร้อมให้ตนเอง ในลักษณะความรู้นอกห้องเรียน ไม่มากก็น้อยที่ต้องนำไปใช้ เพื่อให้ได้เข้าไปทำงานหรือวางแผนให้กับตนเองหลังจากจบการศึกษาไปแล้ว
สถานประกอบการณ์ ไม่ว่าเป็นของใครคงไม่ต่างกัน สำหรับพนักงาน หรือเรียกง่ายๆ ว่า “ ลูกจ้าง “ ในฐานะหรืออยากให้เห็นในมุมมองของ พนักงานนั้น ต้องเข้าบทบาทหน้าที่ของตนให้เข้าใจก่อน แล้วตามด้วยอื่นๆ ต่อไป สิ่งสำคัญนั้นก็คือ เราเป็นทรัพยกร ที่สถานประกอบการต้องการอย่างหนึ่งที่ต้องใช้ในกระบวนการ ไม่ต่างจากวัสถุดิบอย่างอื่นเลย ฉะนั้น ต้องมีการคั้ดกรองคุณภาพ เป็นเรื่องปกติ เพียงแต่ว่า เรา นั้นเป็นทรัพยกรที่สำคัญและได้คุณภาพที่เขาต้องการหรือไม่ ในรูปแบบ ตะวันตก หรือ แบบอเมริกัน คือ จะทำอย่างไรจะใช้ทรัพยกรเหล่านั้นให้คุ้มค่ามากที่สุด เหมาะสมที่สุด ทำให้เกิดที่มาของค่าตอบแทนที่มาก เมื่อเทียบกับแบบอื่นๆ ร่วมถึงการพัฒนา บุคคลกรอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นจุดเด่นอย่างหนึ่งที่เดียว แต่ต้องยอมรับด้วยว่างานหรือหน้าที่รับผิดชอบสูง แต่ก็ไม่เกินเลยความสามารถเราที่จะทำได้ สิ่งสำคัญอย่างที่ช่วยทำให้เรางานได้ง่ายในทุกรูปแบบคือการทำงานอย่างตั้งใน ขยัน ทำงานหนัก เท่าที่เราจะทำได้ ด้วยใช้หลักการบริหารงาน วางแผนการทำงานร่วงหน้าเสมอ ไม่ว่าจะเป็น ชั่วโมง เป็นวัน เป็นปี หรือหลายๆปี ฉะนั้น เราจะเห็นในหลายๆสถานประกอบการมีการวางแผนงาน 5 ปี หรือ 10 ปี ซึ่งเรียกว่า “ MASTER PLAN “ ให้เห็นเป็นปกติ อย่างเช่นใน โรงงานมีแผนการผลิตเป็น ไตรมาส ( 3 เดือน ) แล้ว แบ่งออกเป็นรายสัปดาห์ และลงรายละเอียดเป็นชั่วโมง ก็ไม่ต่างจากเราที่ต้องวางแผนการทำงานของตนเองในทุกๆชั่วโมง ในตลอดสัปดาห์ คนอเมริกัน ไม่ได้รอเวลา หรือให้เหตุเกิดแล้วจึงทำงานแต่ ก็ 60% ถึง 80% ของความสำเร็จเกิดจากการวางแผนงานร่วงหน้าทั้งนั้น หลัการทำงานอย่างง่ายๆ คือ วางแผน – ลงมือทำ – พัฒนา – อบรม – ติดตามผล ไม่ว่าจะอยู่จุดใดในองค์กร ก็สามารถใช้หลักการง่ายๆนี้ ในการทำงาน และ ต้องจำไว้เสมอว่า คนอเมริกัน มองว่า เวลา คือของสำคัญที่ สุด เป็นเงินเป็นทอง ซึ่งแนวคิดที่ดีมากๆ
โครงสร้างการบริหารงาน ถือเป็นหัวใจของการดำเนินงานภายในโรงงานหรือสถานประกอบการนั้น รวมถึง สถานประกอบการที่มี โครงสร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบตะวันตก ด้วยแล้วยิ่งมุ่งเน้นการทำงานแบบเป็นระบบ มีการแบ่งแผนกการทำงานที่ชัดเจน มีความเป็นเอกเทศในการทำงานแต่ก็คงไว้ซึ่งความคร่องเกี่ยวในแต่ละแผนก หรือ ฝ่ายได้ดีขึ้นกับความคร่องตัวหรือรูปแบบสินค้า และบริการของสภานประกอบการนั้นด้วย
การกำหนดนโยบาย ( Company Policy ) คือการ สร้างข้อตกลงในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น เจ้าของ (ผู้ประกอบการ) ลูกค้าที่ได้รับมอบสินค้า และบริการ รวมถึง พนักงานผู้ปฏิบัติงานทุกคน ที่มีส่วนร่วมทั้งหมด ทราบถึง นโยบายของบริษัท ถึงการมีคุณภาพอย่างสมบูรฌ์ ทั้งกระบวนการผลิตสินค้า และสินค้าที่มอบให้ลูกค้า โดยสื่อให้เห็นความปรารถนาและความคาดหมายของลูกค้า ทราบเข้าใจและปฏิบัติตามระบบคุณภาพของบริษัท มีการจัดการ การประเมินผล และวินิจฉัยผลงาน เพื่อนำไปปรับปรุงผลผลิต ขบวนการผลิต และระบบบริหารงานคุณภาพ จนถึงการมุ่งเน้นการพัฒนาบุคคลกรให้เข้าใจการทำงานของผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต นำเทคโนโลยี่ใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต
มาตราฐาน และการยอมรับ ( Quality System & Certification ) เป็นสิ่งที่ยากที่ละเว้น ที่จะไม่ปฏิบัติ เนื่องจากการแข่งขันทางการค้าและ ความมุ่งเน้นด้านคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญ นั้นเอง แต่ถว่า เราเข้าใจในวัตถุประสงค์ ของการมี มาตราฐานคุณภาพแล้ว ท่านผู้อ่านจะเข้าว่า มีความสำคัญอย่างยิ่ง ไม่เพียงแค่ด้านการค้า เพราะ วัตถุประสงค์ ของการปฎิบัติ เพื่อได้การรับรองมาตราฐาน ของหยิบยกเอา มาตราฐาน ISO อ้างอิง ให้เข้าใจอย่างสั้นๆ คือ ความปรารถนาให้ทุกถาคส่วน ในโรงงานผลิตนั้น สามารถผลิตสินค้า ออกมาอย่างมีคุณภาพ ดังเดิม ตลอดทุกชิ้นที่ ส่งถึงมือลูกค้า นั้นหมายความว่าแล้วเราจะทำอย่างไร ให้เราควบคุมความแปรปรวนที่เกิดขึ้น ในกระบวนการผลิตของเรานั้นเอง โดยเริ่มจากการ ทำงานอย่างเป็นระบบ ซึ่ง ISO ก็มีการชี้แนะการบริหารจัดการ แล้วมีการส่งตัวแทนที่เชื่อถือได้เป็นผู้ตรวจสอบการบริหารจัดการนั้นๆ นั้นเอง นัดถึงวันนี้ ISO ก็ ออกมาตราฐาน ไม่เพียงแต่การควบคุบการผลิต ยังส่งถึงด้านอื่นๆ เช่น มาตราฐานสิ่งแวดล้อม มาตราความปลอดภัยและชีวอนามัย เป็นต้น
มาตราฐานคุณภาพการออกแบบและผลิต (ISO 9001)
มาตราฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ISO 14001)
มาตราฐานคุณภาพความปลอดภัยและชีวอนามัย (ISO 18001)
ในเวลาอันใกล้นี้ ก็จะมีมาตราออกมาให้ใช้ และ บังคับใช้ เช่น ว่าด้วยการคืนหรือให้กับ ผู้คนในชุมชนที่ โรงงานตั้งอยู่ หรือ มาตราฐานที่ว่าด้วยการประหยัดพลังงาน ในโรงงาน ให้ได้ ปฏิบัติ
ระบบควบคุมคุณภาพ และมาตราฐานเป็นที่ยอมรับ
เครื่องมือในเชิงวิศวกรรม (Engineering Tool ) เมื่อทราบเป็นอย่างดีแล้วว่า หัวใจดวงใหญ่ ที่ส่งผลกระทบในกระบวนการผลิตนั้น คือ ความแปรปรวน ( Variation ) ไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบต่างในแต่กระบวนการ ไหนจะเป็นกระบวนการที่ มีหลายในแต่ละขั้นตอนการผลิต รวมถึงเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตที่ทีหลายเครื่องแม้แต่ขบวนการเดียว จนถึงพนังงานที่ควบคุมเครื่องจักรนั้นๆ ที่อาจมีทักษะในการปฎิษัติ ยิ่งมีขั้นตอนที่ ให้พนักงาน ลงมือปฏิษัติ มากเพียงใด ความแปรปรวนก็จะมากเป็นทวีคูณ ดังนั้น เราจึ่งขาดไม่ได้ ที่ จะต้องมีมาตราฐานคุณภาพ เข้ามาบริหารจัดการ ไม่ว่าจะเป็น การจัดเอกสาร การระบุที่ชัดเจนตั้งแต่การจัดซื้อ จัดจ้าง ตลอด การออกแบบผลิตภัณฑ์ การควบคุมการผลิต การบันทึกที่ชัดเจนของผลิตภัณฑ์ กับทุกกระบวนการผลิต แต่เราก็ พบว่า เกิดความแปรปรวนในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ จึงมีการนำ เครื่องมือในเชิงวิศวกรรม (Engineering Tool) เข้ามาจัดการกับ ความแปรปรวนนั้น เพื่อ ให้เกิดผลกำไรสูงสุด และ สามารถส่งสินค้าให้ลูกค้าได้ตามเวลาที่กำหนด เพราะการแปรปรวนก่อให้ เกิดของเสีย นั้นคือความสูญเสีย ซึ่ง เครึ่องมือที่ นิยมใช้ มีหลากหลายมากมายให้เลือกใช้ให้เหมะกับ ความต้องการในแต่ละกระบวนการ จะได้ยกตัวอย่างไว้ในรูป ถัดไป เช่น Six Sigma , QCC , TQM เป็นต้น
กลยุทธ์ด้านการตลาด ของ บริษัท INNOVEX Co., (ตัวอย่าง สภานประกอบการ แบบ ตะวันตก)
ประเภทธุรกิจ
· เป็นอุตสาหกรรมผลิตแผงวงจรไฟฟ้าชนิดอ่อน (Flexible Circuit) ให้กับลูกค้าซึ่งเป็นกลุ่มของผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า-อิเล็คทรอนิคส์
· ลักษณะการดำเนินธุรกิจจัดอยู่ในรูปแบบของ B2B (Business to Business)
· โดยบริษัทฯ มีสถานะเป็น Supplier ผลิตสินค้าส่งให้กับคู่ค้า
· อินโนเว็กซ์ทำรายได้กว่า 150 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี
o คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาด 4.7% ของตลาดการค้าทั่วโลก
o คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาด 9.4% ของตลาดอื่นเมื่อไม่รวมกิจการของประเทศญี่ปุ่น
ประเภทสินค้า แบ่งได้ 3 ประเภท
· Data Storage เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้งานในกลุ่มสินค้าประเภท อุปกรณ์เก็บข้อมูล เช่น Hard Disk
· New Venture เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้งานในกลุ่มสินค้าประเภท โทรศัพท์มือถือ,Plasma TV, Notebook Computer
· Flex Suspension Assembly (FSA) เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้งานในกลุ่มสินค้าประเภทหัวอ่าน Hard Disk, หัวอ่าน CD Drive ซึ่งมีขนาดเล็ก
กลุ่มลูกค้า
ลูกค้าของบริษัทจะเป็น กลุ่มของผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า-อิเล็คทรอนิคส์ โดยมี Seagate เป็นลูกค้ารายใหญ่ ซึ่งมีสัดส่วนยอดประมาณ 60 % นอกจากนั้นประกอบไปด้วย
· IBM
· Maxtor
· PHILIPS
· SAMSUNG
· XEROX
· Iomega
· HP
· DELL
· HITACHI
· QUANTUM
· STORAGETEK
คู่แข่งขัน แบ่งเป็น 2 กลุ่มดังนี้
· จากอเมริกา ประกอบด้วย
o 3M
o M-Flex
o World Circuits
· จากญี่ปุ่น ประกอบด้วย
o Mextex
o Nitto-Denko
o Fujikura
o Sumitomo
วิเคราะห์องค์ประกอบทางการตลาด
รูปแบบการดำเนินการด้านการตลาดของ INNOVEX เป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า “ขายก่อนทำ” ซึ่งหมายถึงเป็นการร่วมมือระหว่าง INNOVEX และ ลูกค้าในการร่วมกันคิดค้นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าของลูกค้าได้ ก่อนที่ทาง INNOVEX จะเริ่มการผลิต จากรูปแบบการดำเนินการดังกล่าวสามารถวิเคราะห์ในหลักการขององค์ประกอบทางการตลาดได้ดังนี้
1. Product ในกรณีนี้จะกล่าวถึงนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีในการผลิตสินค้าของ INNOVEX ซึ่งหมายถึง บริษัท INNOVEX จะต้องมีเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยที่สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ออกมาให้รองรับต่อการเปลี่ยนแปลงในตัวเทคโนโลยีของสินค้า ของลูกค้าได้
2. Price ในกรณีนี้ INNOVEX ไม่ใช่ผู้นำในอุตสาหกรรมการผลิตสินค้า Flexible Circuit จึงไม่สามารถแข่งขันในด้านราคาได้ ซึ่งเมื่อพิจารณาลงไปถึงตัวลูกค้า เช่น Seagate ซึ่งเป็นบริษัทผลิต Hard Disk ขนาดใหญ่ มียอดขายจำนวนมาก ถึงแม้ต้นทุนจะสูงขึ้น แต่ Seagate ยังคงมีกำไร ในขณะที่ใช้สินค้ามีคุณภาพ เท่ากับเป็นการเพิ่มคุณภาพให้กับสินค้าของ Seagate ไปสู่ผู้บริโภค
3. Place กรณีที่ INNOVEX ย้ายโรงงานการผลิตมายังประเทศไทย จะส่งผล 2 ทางดังนี้
a. Labor Cost เนื่องแรงงานในประเทศไทย เป็นแรงงานที่มีคุณภาพและค่าจ้างแรงงานไม่สูง ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง
b. Logistic เป็นการลดระยะทางระหว่างลูกค้าให้สั้นลง ทำให้จัดส่งสินค้าได้เร็วตรงตามกำหนด ประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนต่ำลง
4. Promotion เนื่องจากเป็นการดำเนินธุรกิจในรูปแบบของ Business to Business ประเด็นสำคัญจึงเป็นเรื่องของ PRM (Partner Relationship Management) ในการที่ INNOVEX จะต้องให้ความสำคัญต่อคู่ค้า ในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ตรงตามข้อกำหนด จัดส่งตรงเวลา เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับคู่ค้า เพื่อให้เกิดการซื้อซ้ำต่อ ๆ ไป
สรุป ในเรื่องการจัดการการตลาด สิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญของบริษัท INNOVEX คือ
1. เรื่องนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีในการผลิตสินค้า บริษัท INNOVEX จะต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยเพื่อให้สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ออกมาให้รองรับต่อการเปลี่ยนแปลงในตัวเทคโนโลยีของสินค้า ของลูกค้า อยู่ตลอดเวลา เนื่องจาก Product Life Cycle ของสินค้าเทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว โดยเฉลี่ยมีอายุประมาณ 6 เดือน
2. PRM (Partner Relationship Management) บริษัท INNOVEX จะต้องพัฒนาเรื่องความสัมพันธ์ที่มีต่อคู่ค้าทุกราย เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับคู่ค้า อันนำมาซึ่งการที่ลูกค้าจะอยู่กับบริษัทฯ ต่อไป
3. บริษัท INNOVEX จะต้องขยายฐานลูกค้าให้มากกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อลดระดับความสำคัญของลูกค้ารายใหญ่เช่น Seagate ลงมา (ปัจจุบันยอดขายของบริษัทประมาณ 60 % มาจาก Seagate) เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงในกรณีที่ ลูกค้ารายใหญ่เกิดการเปลี่ยนแปลง ไปหาคู่แข่ง
รูปแบบการทำงาน & วัฒนธรรมในการทำงาน (Working style & culture)
จะต้องให้ความสำคัญต่อผลสำเร็จของงาน 5 ประการ ดังนี้
1. การผลิต (Production)
2. คุณภาพ (Quality)
3. ต้นทุน (Cost)
4. ความปลอดภัย (Safety)
5. ขวัญและกำลังใจ (Morale)
William G. Ouchi ผู้กำเนิดทฤษฎี Z
สังคมอเมริกานั้น มาจากหลายเชื้อชาติ ประกอบกับการมีค่านิยมที่รักเสรีไม่ผูกพันตนเองกับองค์การ มีการย้ายงานได้บ่อย โดยเฉลี่ยแล้วคนอเมริกันจะทำงานอย่างน้อย 3 แห่งในชีวิต การทำงานเพียงแห่งเดียวเป็นเรื่องแปลกสำหรับในสังคมอเมริกัน ความผูกพันระหว่างบุคคลกับองค์การมีน้อยกว่าญี่ปุ่น คนอเมริกันทุกระดับพร้อมที่จะย้ายงาน เมื่อมีตำแหน่งงานใหม่ที่ดีกว่าเดิม ส่วนองค์การก็ปลดคนออกง่าย ๆ โดยถือประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ลักษณะของคนอเมริกันคือ เมื่ออยู่ที่ไหนก็จะทำงานอย่างเต็มที่ เพราะถือว่าประวัติการทำงานจะติดตัวไปตลอดชีวิต นอกจากนั้นคนอเมริกันยังมีจริยธรรมในการทำงาน ไม่ดูถูกงาน
การบริหารสไตล์อเมริกัน (Type A)
v การจ้างงานช่วงเวลาสั้น คือเขามักจะไม่จ้างคนทำงานนาน เพราะทำให้ค่าจ้างแพง แต่จ้างเป็นระยะเวลาช่างสั้น ๆ แทน
v การประเมินและเลื่อนขั้นเร็ว ถึงแม้จะจ้างงานช่วงระยะเวลาสั้น ๆ แต่สไตล์อเมริกัน เขาจะประเมินผลงาน และเลื่อนขั้นไว เรียกว่า ใครทำงานเก่ง แม้ไม่ต้องอาวุโส แต่อาจเลื่อนขั้นเป็นผู้บริหารระดับสูงได้อย่างรวดเร็ว
v ให้ความสำคัญมากกับอาชีพ ให้ความชำนาญเฉพาะทาง หมายถึง ใครทำอาชีพไหนก็ตาม ต้องมีความรู้ ความชำนาญ ระดับ “มืออาชีพ” จึงจะอยู่รอด ได้รับการจ้าง และได้ผลตอบแทนจากการทำงานที่คุ้มค่า
v เอกบุคคลเป็นผู้ตัดสินใจ การตัดสินใจขึ้นอยู่กับผู้บริหารสูงสุด หรือเป็นการตัดสินใจโดยคน ๆ เดียว
v ความรับผิดชอบเป็นภาระของเอกบุคคล เมื่อการตัดสินใจขึ้นอยู่กับ “เอกบุคคล” ดังนั้น หากมีอะไรผิดพลาดบกพร่อง คนที่รับผิดชอบคือคนที่ตัดสินใจ
v ใช้กลไกควบคุมที่เห็นกันชัด ๆ กล่าวคือ การควบคุมต่าง ๆ จะมีระบบการควบคุมที่เปิดเผย ทุกคนเห็นโดยทั่วไปว่าจะเป็นการความคุมโดยคน หรือเครื่องจักรก็ตาม
v แบ่งความเกี่ยวข้องกับคนทำงานเป็นส่วน ๆ ไป คือให้ความสำคัญแยกเป็นส่วน ๆ ย่อย ๆ แต่ละแผนก แต่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
ลักษณะที่สำคัญของทฤษฎี Z
v ระยะเวลาจ้างงานระยะยาว เป็นไปตลอดชีพ (Lifetime Employment)
ไม่มีข้อผูกมัดหรือเงื่อนไขทางสังคม ที่ทำให้คนงานจะย้ายงานไม่ได้หรือลำบากใจ ย้ายงานอย่างในญี่ปุ่น
v การประเมินและเลื่อนตำแหน่ง (Slow Evaluation and Promotion)
การเลื่อนขั้นเป็นไปอย่างเร็วปานกลาง แต่จะไม่ช้าขนาด 10 ถึง 15 ปี ระยะเวลาเลื่อนขั้นต่าง ๆ จะสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม แต่การมีเวลาทิ้งช่วงช่วยให้พนักงานได้เห็นผลประโยชน์ และการประเมินผลงานของแผนงานระยะกลางและระยะยาว
v ลักษณะงานอาชีพ (Non specialized Career Paths)
แนวทางอาชีพกึ่งเฉพาะด้าน เพราะไม่ถึงกับต้องหมุนเวียนไปทำงานทุก ๆ อย่างในบริษัท หรือกระทั่งไปทำบริษัทอื่นในเครือหรือสาขาอื่น แต่เปิดโอกาสให้พนักงานของตนได้มีประสบการณ์ในสายงานหนึ่ง ตั้งแต่การออกแบบ การผลิต และกระทั่งการวางตลาด ประสบการณ์เหล่านี้ช่วยให้เกิดความพอใจที่จะอยู่ในบริษัทนั้นมากยิ่งขึ้น
v การบริหารมีระบบการควบคุมที่ไม่มีรูปแบบ (Implicit Control Mechanisms)
เป็นการควบคุมการบริหารแบบอเมริกัน ใช้ระบบ MBO กลไกการควบคุมงานอยู่ในจุดสมดุล ระหว่างแบบทางตรงและแบบทางอ้อม โดยสร้างให้เกิดบรรยากาศของความไว้วางใจ (trusts) ขึ้นในองค์การ
v การตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม (Consensual Decision Making)
มีทั้งแบบรวมอำนาจและกระจายอำนาจ โดยมีการรับฟังข้อคิดเห็นจากทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้องก่อน และคนที่รับผิดชอบจะเป็นคนตัดสินใจเองในที่สุด
v การทำงานและมนุษย์สัมพันธ์ในองค์การ
มีอิสระเป็นตัวของตัวเอง มีเสรีภาพเท่าเทียมกันยึดหลัก ซื่อสัตย์ต่อกัน (Trust) ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (subtlety) ความใกล้ชิดและเป็นกันเอง (intimacy) ไม่เน้นถึงการปฏิบัติต่อกันในระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชากับผู้บังคับบัญชา โดยเพิ่มความเอาใจใส่ต่อบุคคลใต้บังคับบัญชามากยิ่งขึ้น และเน้นการประสานงานกันในระหว่างคนในระดับเดียวกัน ให้ทุก ๆ คนปฏิบัติต่อกันในฐานะ คนกับคน มิใช่ในฐานะ เจ้านายกับลูกน้อง
ข้อดี / ข้อเสีย (Strong point / Distinctive point)
ข้อดี ในการทำงานกับโรงงานแบบตะวันตก
• ค่าตอบแทน สูง เมื่อเทียบกับ โรงงานในกลุ่มอื่นๆ
• เวลาทำงานและหน้าที่รับผิดชอบที่ชัดเจน
• ข้อกำหนดและกฏระเบียบในการทำงานที่ชัดเจน
• มีความอิสระทางความคิดและการตัดสินใจ
• การประเมินผลที่ชัดเจนเป็นระบบ
• ได้ใช้ภาษาต่างประเทศ ทำให้เพิ่มทักษะ ทางด้านภาษา
• มีโอกาศ ได้เปิดโลกทัศน์ ในหลายๆด้าน ถ้าได้มีโอกาสไปดูงานต่างประเทศ
• ส่งเสริมการอบรมในการทำงานในทุกๆด้าน เป็นความรู้ความสามารถติดตัวไปตลอด
• มีทุนหรืองบประมาณที่มากในการส่งเสริมการพัฒนาและ การวิจัย ในด้านเทคโนโลยี่เพื่อประยุคต์ ในกระบวนการผลิต ทำให้บุคคลเพิ่ม ความรู้และประสบการณ์
ข้อเสีย ในการทำงานกับโรงงานแบบตะวันตก
• การประเมินผลงาน เป็นตามผลงาน ฉะนั้น อาจไม่เหมาะกับคนที่ ทำงานเลื่อยๆ
• วัฒนธรรมบ้างอย่าง ต้องปรับระหว่างกัน
• ความรับผิดชอบในการทำงานสูง ต้องรอบครอบในการทำงาน
• มีความอิสระทางความคิดและการตัดสินใจ แต่เป็นดาบสองคม ต้องเรียนรู้ ในงานและใช้ประสบการณ์ ในการพิจารณา ในงานต่างๆด้วย (อาจตัดสินใจผิดพลาด แต่อย่าเสียกำลังใจ และเรียนรู้ต่อไป ) เพราะ บ้างคนอาจกลัวจนไม่กล้าตัดสินใจ อาจทำให้ งานไม่เดิน ฉะนั้น การตัดสินใจใดๆ ต้องอ้างอิงจากข้อมูลเป็นหลัก
• การประเมินผลที่ชัดเจนเป็นระบบ แต่อย่างไรก็ อิงกลุ่ม เพื่อทำให้เกิดการแข่งขัน พัฒนาความสามารถส่วนบุคคล ยังผลสู่บริษัท
• ได้ใช้ภาษาต่างประเทศ แต่ ก็เป็นอุปสรรค ในการสื่อสารที่ชัดเจนเช่นกัน
• ส่งเสริมการอบรมในการทำงานในทุกๆด้าน สร้างบุคคลกรที่มีคุณภาพ แต่ก็ เกิดสมองไหลได้ง่าย ทำให้ต้องหาบุคคลกรทดแทน อยู่ตลอด ทำให้ขาดบุคคลกรที่มีความรู้เชิงลึกเฉพาะด้าน หรือ มีน้อย
เอกสารอ้างอิง
· ผู้กำเนิดทฤษฎี Z William G. Ouchi
· ข้อมูลภายใน บริษัท อินโนเวกส์
Thank you for comment
Subscribe to:
Posts (Atom)